เมนู

ธรรมวิปปยุตจากปรามาสะ และไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ
เป็นไฉน ?
มรรคและผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุตจากปรามาสและไม่เป็นอารมณ์ของปรามาสะ.
ปรามาสโคจฉกะ จบ

มหันตรทุกะ


[766] ธรรมมีอารมณ์ เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ สภาวธรรม
เหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีอารมณ์.
ธรรมไม่มีอารมณ์ เป็นไฉน ?
รูปทั้งหมด แต่อสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่มี
อารมณ์.
[767] ธรรมเป็นจิต เป็นไฉน ?
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ
มโนธาตุ มโนวิญญาณธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นจิต.
ธรรมไม่เป็นจิต เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เป็นจิต.
[768] ธรรมเป็นเจตสิก เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เป็นเจตสิก.

ธรรมไม่เป็นเจตสิก เป็นไฉน ?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เป็นเจตสิก.
[769] ธรรมสัมปยุตด้วยจิต เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
สัมปยุตด้วยจิต.
ธรรมวิปปยุตจากจิต เป็นไฉน ?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมวิปปยุต
จากจิต
จิต จะกล่าวว่าสัมปยุตด้วยจิตก็ไม่ได้ ว่าวิปปยุตจากจิตก็ไม่ได้.
[770] ธรรมเจือกับจิต เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เจือกับจิต.
ธรรมไม่เจือกับจิต เป็นไฉน ?
รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่เจือ
กับจิต
จิต จะกล่าวว่าเจือกับจิตก็ไม่ได้ ว่าไม่เจือกับจิตก็ไม่ได้.
[771] ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ หรือ
รูปแม้อื่นใดซึ่งเกิดแต่จิต มีจิตเป็นเหตุ มีจิตเป็นสมุฏฐาน มีอยู่ คือ รูปายตนะ.
สัททายตนะ คันธายตนะ รสายตนะ โผฏฐัพพายตนะ อากาศธาตุ อาโปธาตุ

รูปลหุตา รูปมุทุตา รูปกัมมัญญตา รูปอุปจยะ รูปสันตติ กพฬิงการาหาร
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมมีจิตเป็นสมุฏฐาน.
ธรรมไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
[772] ธรรมเกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดร่วมกับจิต.
ธรรมไม่เกิดร่วมกับจิต เป็นไฉน ?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่
เกิดร่วมกับจิต.
[773] ธรรมเกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์, กายวิญญัตติ วจีวิญญัตติ
สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเกิดคล้อยตามจิต.
ธรรมไม่เกิดคล้อยตามจิต เป็นไฉน ?
จิต รูปที่เหลือ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เกิดคล้อยตามจิต.
[774] ธรรมเจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เจือกับจิตและมีจิตเป็นสมุฏฐาน.
ธรรมไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน เป็นไฉน ?

จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เจือกับจิตและไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน.
[775] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดร่วม
กับจิต
เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดร่วมกับจิต.
ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดร่วม
กับจิต
เป็นไฉน ?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานและไม่เกิดร่วมกับจิต.
[776] ธรรมเจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐาน และเกิดคล้อย
ตามจิต
เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
เจือกับจิต มีจิตเป็นสมุฏฐานและเกิดคล้อยตามจิต.
ธรรมไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐาน และไม่เกิดคล้อย
ตามจิต
เป็นไฉน ?
จิต รูปทั้งหมด และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
ไม่เจือกับจิต ไม่มีจิตเป็นสมุฏฐานและไม่เกิดคล้อยตามจิต.
[777] ธรรมเป็นภายใน เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ มนายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น
ภายใน.
ธรรมเป็นภายนอก เป็นไฉน ?

รูปายตนะ ฯลฯ ธรรมายตนะ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็น
ภายนอก.
[778] ธรรมอาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน ?
จักขายตนะ ฯลฯ กพฬิงการาหาร สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรม
อาศัยมหาภูตรูปเกิด.
ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด เป็นไฉน ?
เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์ มหาภูตรูป 4
และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมไม่อาศัยมหาภูตรูปเกิด.
[779] ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึด
ครอง
เป็นไฉน ?
วิบากแห่งกุศลธรรมและอกุศลธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็น
กามาวจร รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์ และ
รูปที่กรรมแต่งขึ้น สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมอันเจตนากรรม ที่สัมปยุต
ด้วยตัณหาทิฏฐิเข้ายึดครอง.
ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง
เป็นไฉน ?
กุศลธรรมและอกุศลธรรมประเภทที่ยังมีอาสวะ ซึ่งเป็นกามาวจร
รูปาวจร อรูปาวจร คือ เวทนาขันธ์ ฯลฯ วิญญาณขันธ์, ธรรมที่เป็นกิริยา
ไม่ใช่กุศล ไม่ใช่อกุศล ไม่ใช่กรรมวิบาก, รูปที่กรรมมิได้แต่งขึ้น, มรรค
และผลของมรรคที่เป็นโลกุตระ และอสังขตธาตุ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า
ธรรมอันเจตนากรรมที่สัมปยุตด้วยตัณหาทิฏฐิไม่เข้ายึดครอง.
มหันตรทุกะ จบ

อธิบายนีวรณโคจฉกะ


ว่าด้วยถีนมิทธนิทเทส


พึงทราบวินิจฉัยในถีนมิทธนิทเทสแห่งนีวรณโคจฉกะ ต่อไป.
บทว่า จิตฺตสฺส อกลฺยตา (ความไม่สมประกอบแห่งจิต) คือภาวะ
แห่งคนป่วยไข้. จริงอยู่ คนป่วยไข้ ตรัสเรียกว่า อกลฺยโก (ผู้มีสุขภาพไม่ดี)
แม้ในวินัยก็กล่าวไว้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่สามารถ ดังนี้.
บทว่า อกมฺมญฺญตา (ความไม่ควรแก่การงาน) ได้แก่ อาการ
แห่งความไม่ควรแก่การงานคือความเป็นไข้แห่งจิต. บทว่า โอลียนา (ความ
ท้อแท้) ได้แก่ อาการที่ท้อถอย. จริงอยู่ จิตที่ยังอิริยาบถให้เกิดขึ้น เมื่อ
ไม่อาจเพื่อให้อิริยาบถทรงอยู่ ย่อมท้อแท้ ดุจค้างคาวเล็กห้อยอยู่บนต้นไม้
ย่อมท้อถอยดุจหม้อน้ำดื่มห้อยไว้ที่เสาเขื่อนฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
ความท้อแท้ ดังนี้ ทรงหมายถึงอาการนั้นของจิตนั้น. บทที่ 2 (สลฺลียนา
ความถดถ้อย) ทรงเพิ่มด้วยอำนาจบทอุปสรรค.
บทว่า ลีนํ (ความหดหู่) ได้แก่ ขดงอแล้ว เพราะความไม่แผ่ออกไป.
บททั้ง 2 นอกนี้ (คือ ลียนา ลียิตตฺตํ อาการที่หดหู่ ภาวะที่หดหู่)
เป็นบทแสดงถึงอาการและภาวะของจิตนั้น.
บทว่า ถีนํ (ความซบเซา) ความว่า ที่ชื่อว่า ถีนะ โดยความ
เป็นแท่ง เพราะไม่แผ่ไปเหมือนก้อนเนยใส. บทว่า ถียนา (อาการที่ซบเซา)
เป็นการแสดงอาการของจิต ภาวะแห่งอาการที่จิตซบเซาแล้ว ชื่อว่า ถียิตตฺตํ
(ความซบเซา) อธิบายว่า ความที่จิตเป็นธรรมชาติกระด้างด้วยสามารถแห่ง
การไม่แผ่ออกไปนั้นเทียว.